แบบฝึกหัดวิชาเคมี เรื่องพันธะเคมี


แบบฝึกหัดวิชาเคมี เรื่องพันธะเคมี


    1 )นักเคมีนำสาร 2 ชนิดมาหาจุดหลอมเหลว จุดเดือด ละลายน้ำแล้วตรวจการนำไฟฟ้าของสารละลาย การทดลองนี้เป็นการทดลอง


1.หาแรงยึดเหนี่ยวระหว่างพันธะของสาร 

2.หาพลังงานการละลายของสาร 

3.หาว่าสารใดเป็นโมเลกุลมีขั้ว 

4.หาว่าสารใดประกอบขึ้นด้วยพันธะไอออนิกหรือพันธะโคเวเลนต์ 



2 ) จำนวนพันธะโคเวเลนต์ใน Na_2SO_4,  NH_4^+,  CuS,  BCl_3 เป็นกี่พันธะมีค่าเรียงตามลำดับคือ
4,4,0,3
6,3,1,0
4,3,0,3
5,4,1,0
คำชี้แจง  ข้อมูลต่อไปนี้ใช้ประกอบการตอบคำถามข้อ 3-4
 ในการทดลองตรวจสอบสมบัติของสาร 4 ชนิดได้ผลดังตาราง

ชนิดของสาร
จุดหลอมเหลว^0C
สมบัติ
1
801
แข็งแต่เปราะ เมื่อหลอมเหลวนำไฟฟ้าได้
2
-182
ไม่นำไฟฟ้า
3
1540
แข็ง เป็นเงา นำไฟฟ้าได้ดี
4
0
นำไฟฟ้าได้น้อยมาก
3 ) สารชนิดที่ 2 ยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแบบใด
แรงแวนเดอร์วาลส์
พันธะโคเวเลนต์
พันธะโลหะ
พันธะไอออนิก
4 ) สารใดที่มีแรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุลด้วยพันธะโคเวเลนต์มีขั้ว
สารชนิดที่ 1
สารชนิดที่ 2
สารชนิดที่ 3
สารชนิดที่ 4
5 ) สารประกอบในข้อใด มีจำนวนโมเลกุลไม่มีขั้วเป็นสองเท่าของโมเลกุลมีขั้ว
CHCl_3 , CCl_4 , HCl
CCl_4 , NH_3 , SiH_4
PCl_3 , H_2O , CO_2
CH_4 , SO_2 , CH_3Cl
คำชี้แจง  ข้อมูลต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อ 6-7
ทดสอบการละลายของสาร A และสาร B ในน้ำได้ผลดังตาราง

ตัวถูกละลาย
ปริมาณสูงสุดเป็นกรัมในน้ำ 100 cm^3 ที่อุณหภูมิ
^0C
100^0C
สารA สารB
2 5
10 1
6 ) ผลในตารางหมายความว่าอย่างไร
การละลายของ A คายความร้อน
การละลายของ B คายความร้อน
สาร A ละลายได้ง่ายกว่าสาร B
สาร B ละลายได้ง่ายกว่าสาร A
7 ) ข้อความใดถูกต้อง
สาร A มีพลังงานโครงร่างผลึกสูงกว่าพลังงานไฮเดรชัน
สาร B มีพลังงานโครงร่างผลึกสูงกว่าพลังงานไฮเดรชัน
เตรียมสารละลายอิ่มตัวของสาร A ได้โดยการต้ม
เตรียมสารละลายอิ่มตัวของสาร B ได้โดยการทำให้เย็น
8 ) โมเลกุลของสารใดเมื่ออยู่ในสถานะของแข็งใช้แรงแวนเดอร์วาล์สยึดกันเพียงอย่างเดียว
คาร์บอนเตตระคลอไรด์
แอมโมเนีย
คาร์บอนมอนอกไซด์
น้ำ
9 ) ตารางข้างล่างแสดงจุดหลอมเหลว จุดเดือด และความสามารถในการนำไฟฟ้าเมื่อหลอมเหลวของสารประกอบคลอไรด์ A, B และ C

สารประกอบคลอไรด์
จุดหลอมเหลว (K)
จุดเดือด (K)
การนำไฟฟ้า
A
883
1650
ดีมาก
B
1148
2750
ดี
C
548
1005
ไม่ดี

สิ่งที่สรุปได้จากข้อมูลคือ
A และ B เป็นสารประกอบไอออนิก
A , B และ C เป็นสารประกอบไอออนิก
A เป็นสารประกอบไอออนิกเพียงสารเดียว
B เป็นสารประกอบไอออนิกเพียงสารเดียว
10 ) จงเปรียบเทียบความยาวพันธะระหว่างอะตอมของคาร์บอน และพลังงานพันธะระหว่างอะตอมของธาตุคาร์บอนในโมเลกุล C_2H_6 ,C_2H_4 และ C_2H_2

ข้อ
สารประกอบคลอไรด์
จุดหลอมเหลว (K)
1
C_2H_6 > C_2H_4
C_2H_4 > C_2H_6
2
C_2H_2 > C_2H_4
C_2H_2 > C_2H_4
3
C_2H_2 > C_2H_6
C_2H_2 > C_2H_6
4
C_2H_2 > C_2H_4
C_2H_2 > C_2H_4
1
2
3
4
11 ) จงเปรียบเทียบความยาวพันธะ C-O ของคาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอเนตไอออนพร้อมด้วยเหตุผล
ของ CO_2 ยาวกว่า เพราะพันธะ C-O ทั้งสองเป็นพันธะคู่หมด
ของ CO_2 สั้นกว่า เพราะพันธะ C-O ทั้งสองเป็นพันธะคู่หมด
ของ CO_2 ยาวกว่า เพราะพันธะ C-O หนึ่งเป็นพันธะเดี่ยวส่วนอีกหนึ่งเป็นพันธะสาม
ของ CO_2 ยาวกว่า เพราะพันธะ C-O ทั้งสองเป็นพันธะเดี่ยวหมด
12 ) จงคำนวณหาพลังงานพันธะ N-O ของโมเลกุล NO_2 
จากปฏิกิริยา 

2NO(g)  +  O_2(g)  rightarrow   2NO_2(g)

ปฏิกิริยานี้คายความร้อนออกมา 112 kJ/mol กำหนดให้พลังงานพันธะระหว่าง N-O ของโมเลกุล NO = 90 kJ/mol พลังงานพันธะ O-O ของโมเลกุล O_2 = 120 kJ/mol
206 kJ/mol
103 kJ/mol
80.5 kJ/mol
47 kJ/mol
คำชี้แจง   ข้อมูลต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อ 13 – 15
[[52446]]
13 ) ข้อความเกี่ยวกับพลังงานข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
X = Y
X > Y
X < Y
( X + Y ) = ค่าคงที่
14 ) ปริมาณความร้อนที่เปลี่ยนแปลงไปในปฏิกิริยานี้เป็นกี่จูล( กำหนดให้ความร้อนจำเพาะของน้ำ = 4.2 จูลต่อกรัมต่อองศาเซลเซียส )
50.4
1.98
35
1260
15 ) ถ้าสาร AB ไม่ละลายน้ำเลยความสัมพันธ์ระหว่าง X กับ Y จะเป็นอย่างไร
X = Y
X มีค่าต่ำกว่า Y มาก
X มีค่าสูงกว่า Y มาก
X กับ Y ไม่แตกต่างกันมากนัก
16 ) ข้อความเกี่ยวกับพันธะเคมีข้อใดถูก
พันธะเคมีเกิดขึ้นเมื่อแต่ละอะตอมมีอิเล็กตรอนเป็นจำนวนคี่เท่านั้น
พลังงานของพันธะเคมีจะเพิ่มขึ้นตามความยาวของพันธะเคมี
พันธะเคมีเกิดจากแรงกระทำระหว่างอิเล็กตรอนคู่กับอิเล็กตรอน
พันธะเคมีเกิดขึ้นจากแรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสและอิเล็กตรอน
17 ) ข้อความต่อไปนี้ข้อใดผิด
สารประกอบไอออนิกมักจะเกิดระหว่างธาตุที่มีพลังงานไอออไนเซชันต่ำกับธาตุที่มีอิเล็กโทรเนกาติวิตี้สูง
เมื่อหลอมเหลวสารประกอบไอออนิกนำไฟฟ้าได้
การเกิดสารประกอบไอออนิกจะเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน
สารประกอบไอออนิกยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงไฟฟ้า
18 ) การเปลี่ยนแปลงในข้อใดที่สันนิษฐานได้ว่าจะเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน
C(s)  +  O_2(g)  rightarrow   CO_2(g)
CCl_4(g)  rightarrow   C(s)  +  2Cl_2(g)
2H_2(g)  +  O_2(g)  rightarrow   2H_2O
C(s)  +  2H_2(g)  rightarrow   CH_4(g)
19 ) ถ้าธาตุ X และ Y มีการจัดอิเล็กตรอนเป็น X (2, 8, 8, 1) และ Y (2, 8, 6 ) สารประกอบระหว่าง X และY ควรมีลักษณะอย่างไร
XY_2
X-Y-X
X^{2+} (Y^-)_2
(X^+)_2Y^{2-}
20 ) มุมพันธะในโมเลกุลของมีเทน แอมโมเนีย และน้ำ จะมีขนาดเรียงกันตามลำดับข้อใด
มีเทน > แอมโมเนีย > น้ำ
น้ำ > แอมโมเนีย > มีเทน
แอมโมเนีย > มีเทน > น้ำ
น้ำ > มีเทน > แอมโมเนีย
21 ) ถ้ากราฟระหว่างอุณหภูมิและมวลโมเลกุลของ HF , HCl , HBr , HI เป็นดังแสดงเหตุผลที่ HF มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวผิดปกติ ข้อใดผิด
ฟลูออรีนมีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงที่สุด
เกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของ HF
แรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุลของ HF สูงกว่าของไฮโดรเจนเฮไลด์อื่น ๆ
สภาพขั้วของโมเลกุลของ HF แรงกว่าของไฮโดรเจนเฮไลด์ตัวอื่นๆ
22 ) โมเลกุลของน้ำ ( H_2O ) มีรูปร่างเป็นมุมงอ ถ้าโปรตอนสร้างพันธะกับอะตอมของ O ใน H_2O โดยใช้อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของ O จะได้ H_3O^+ มีรูปร่างเป็นอย่างไร
สามเหลี่ยมแบนราบ
พีระมิดฐานสามเหลี่ยม
ทรงสี่หน้า
ทรงแปดหน้า
23 ) ธาตุ X , Y , Z มีจำนวนโปรตอนเท่ากับ 3 , 20 , 13 ตามลำดับ สารประกอบไนไตรต์ของธาตุทั้งสามคือ
X_3N,  Y_3N,  Z_3N
X_3N , YN_2 , ZN
XN_2 , Y_3N , ZN
X_3N , Y_3N_2 , ZN
24 ) กำหนดให้ค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของ H , O และ S เท่ากับ 2.1 , 3.5 และ 2.5 ตามลำดับ เหตุผลข้อใดที่ทำให้ H_2O มีจุดเดือดสูงกว่า H_2S
แรงแวนเดอร์วาลส์ระหว่างโมเลกุล H_2O สูงกว่าแรงแวนเดอร์วาลส์ระหว่างโมเลกุล H_2S
พันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุล H_2O แรงกว่าพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุล H_2S
พันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุล H_2O แรงกว่าแรงแวนเดอร์วาลส์ระหว่างโมเลกุล H_2S
พันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุล H_2O แรงกว่าแรงดึงดูดระหว่างขั้วบวกกับขั้วลบของโมเลกุล H_2S
25 ) ในการสลายแก๊ส C_2H_4 หนึ่งโมลเป็นอะตอมอย่างสมบูรณ์ ต้องใช้พลังงาน 2266 kJ/mol ถ้าพลังงานพันธะของ C = C และ C-C เท่ากับ 614 และ 348 kJ/mol ตามลำดับ พลังงานพันธะของ C-H เท่ากับกี่ kJ/mol
413
653
720
1652
26 ) ถ้านำสารX และ Y ไปทดสอบหาจุดเดือด การนำไฟฟ้า และการละลาย ข้อมูลใดสอดคล้องกับสมบัติของสาร X และ Y มากที่สุด

ข้อสารจุดหลอมเหลวการนำไฟฟ้าการละลายในน้ำ
1
X
ต่ำ
ไม่นำ
ละลาย
Y
ต่ำ
ไม่นำ
ละลาย
2
X
สูง
นำ
ละลาย
Y
ต่ำ
่นำ
ไม่ละลาย
3
X
สูง
ไม่นำ
ละลาย
Y
ต่ำ
ไม่นำ
ไม่ละลาย
4
X
ต่ำ
นำ
ละลาย
Y
สูง
ไม่นำ
ไม่ละลาย
1
2
3
4
27 ) ลำดับจุดเดือดของสารสี่ชนิด CO_2 , Ar , SCl_2 , SiC จากมากไปน้อยคือข้อใด
CO_2 , Ar , SiC , SCl_2
SiC , CO_2 , SCl_2 , Ar
SiC , SCl_2 , CO_2 , Ar
SCl_2 , SiC , CO_2 , Ar
28 ) สารโคเวเลนต์ชนิดหนึ่งมีสูตร AH_3 และรูปร่างโมเลกุลเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ อะตอม A ในสารนี้ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ข้อใดที่น่าจะเป็นสมบัติของสาร AH_3
โมเลกุลมีขั้ว ละลายน้ำ จุดเดือดต่ำ
เกิดพันธะไฮโดรเจน จุดเดือดสูง และละลายน้ำได้
โมเลกุลไม่มีขั้ว และมีแรงแวนเดอร์วาลส์ (ลอนดอน) เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
โมเลกุลไม่มีขั้ว แต่เกิดพันธะไฮโดรเจนได้
29 ) ตารางต่อไปนี้แสดงสมบัติบางประการของสารประกอบธาตุคู่บางชนิดข้อมูลในข้อใดถูกต้องที่สุด

ข้อ
ธาตุและองค์ประกอบ
อัตราส่วนจำนวนอะตอม
จุดหลอมเหลวและจุดเดือด
การนำไฟฟ้า
1
หมู่ I กับหมู่ VII
1 : 1
ต่ำ
นำไฟฟ้าเมื่อหลอมเหลว
2
H กับหมู่ VI
1 : 1
ต่ำ
ไม่นำไฟฟ้า
3
หมู่ II กับหมู่ VI
1 : 3
สูง
นำไฟฟ้าเมื่อหลอมเหลว
4
หมู่ VI กับหมู่ VII
1 : 2
ต่ำ
ไม่นำไฟฟ้า
1
2
3
4
30 ) ชื่อสารที่กำหนดให้ต่อไปนี้ข้อใดผิด
Cu_2S คอปเปอร์ (II) ซัลไฟด์ NaCN โซเดียมไซยาไนด์
P_2O_5 ไดฟอสฟอรัสเพนทอกไซด์ Al_2O_3 อะลูมิเนียมออกไซด์
MnO_2 แมงกานีส(IV) ออกไซด์ FeCl_3 ไอร์ออน(III) คลอไรด์
K_4[Fe(CN)_6] โพแทสเซียมเฮกซาไซยาโนเฟอเรต (II) HNO_3 กรดไตรออกโซไนตริก
31 ) พิจารณาสารต่อไปนี้  ข้อสรุปเกี่ยวกับสารเหล่านี้ข้อใดถูกต้อง
สาร (I) , (II) และ (IV) เท่านั้นเป็นสารประกอบโคเวเลนต์
สาร (II) , (III) ,(IV) และ (V) เท่านั้นเป็นสารประกอบโคเวเลนต์
สาร (I) และ (II) เท่านั้นที่อะตอมต่างๆ มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็นไปตามกฏออกเตต
สาร (III) และ (IV) เท่านั้นที่อะตอมต่างๆ มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนไม่เป็นไปตามกฎออกเตต
32 ) พบว่าเมื่อแอมโมเนียมคลอไรด์ละลายน้ำจะเป็นปฏิกิริยาดูดพลังงานและปฏิกิริยาเกิดดังนี้
NH_4Cl(s)  rightarrow  NH_4^+  (g)  +  CL^-(g) ดูดพลังงาน E_1

NH_4^+(g)  +  CL^-(g)  rightarrow   NH_4^+(aq)  +  CL^-(aq) คายพลังงาน E_2 

ข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้องที่สุด
สารละลายมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น และ E_2 > E_1
สารละลายมีอุณหภูมิลดลงและ E_1 > E_2
เกลือแอมโมเนียมคลอไรด์จะละลายน้ำได้ดีเพราะ E_1 > E_2
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำกับไอออนมีค่ามากกว่าพลังงานที่ใช้ในการสลายพันธะไอออนิก
33 ) พิจารณาความยาวพันธะในโมเลกุลต่อไปนี้
ก.    CH_3OH             ข.   CH_2O                ค.   CO

การเรียงลำดับความยาวพันธะระหว่าง C กับ O จากมากไปน้อยในโมเลกุลเหล่านี้ข้อใดถูก
ก > ข > ค
ค > ก > ข
ข > ค > ก
ค > ข > ก
34 ) X เป็นสารประกอบของธาตุ Ca และ F มีจุดหลอมเหลวสูง ไม่นำไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้อง และละลายน้ำได้น้อยมาก ข้อสรุปใดต่อไปนี้ไม่สอดคล้องกับข้อมูลข้างต้น
พันธะในสาร X เป็นพันธะไอออนิก
เมื่อ X ละลายน้ำ จะดูดความร้อนทำให้ละลายได้น้อย
X มีสูตร CaF_2 ผลึกมีความแข็งแรงมากจึงละลายได้ยาก
สาร X เมื่อหลอมเหลวจะนำไฟฟ้าได้
35 ) A B C และ D เป็นธาตุในคาบเดียวกันในตารางธาตุและมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 , 3, 6 และ 7 ตามลำดับ พิจารณาข้อสรุปต่อไปนี้
ก. สูตรของสารประกอบระหว่าง A กับ D คือ AD_2 และระหว่าง B กับ C คือ B_2C_3
ข. พันธะระหว่าง A กับ D เป็นพันธะไอออนิก ส่วนระหว่าง C กับ D เป็นพันธะโคเวเลนต์
ค. อะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงสุดคือ D 
ง. อะตอมที่มีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูงสุดคือ A
ข้อสรุปใดถูกต้อง
ก และ ข เท่านั้น
ข, ค และ ง
ก , ข และ ค
ก และ ง เท่านั้น
36 ) อะตอมกลางของสารประกอบทั้งสองในข้อใดที่ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
C_2H_4 , PCl_3
C_2H_2 , PCl_5
CO_2 , SO_2
BCl_3 , AsH_3
37 ) แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล Br_2 , S_8 , O_2 และแกรไฟต์จะมีค่าเรียงตามลำดับดังนี้
Br_2 > S_8 > O_2 > แกรไฟต์
S_8>  Br_2 > O_2 > แกรไฟต์
แกรไฟต์ > Br_2 > S_8 > O_2
แกรไฟต์ > S_8>  Br_2 > O_2
38 ) ปฏิกิริยาระหว่างธาตุสองชนิดเกิดเป็นสารประกอบธาตุคู่ ข้อมูลใดถูกต้อง

จำนวนอะตอม
อัตราส่วน
ชนิดของพันธะ
สมบัติเืมื่อละลายน้ำ
(ก) คลอรีนกับโบรมีน
1 : 1
โคเวเลนต์
กรด
(ข) คาร์บอนกับกำมะถัน
1 : 2
ไอออนิก
กรด
(ค) คลอรีนกับเหล็ก
2 : 1
โคเวเลนต์
กลาง
(ง) โซเดียมกับออกซิเจน
2 : 1
ไอออนิก
เบส
(ก) และ (ข)
(ก) และ (ง)
(ก) , (ข) และ (ง)
(ก) , (ค) และ (ง)
39 ) พิจารณาข้อความต่อไปนี้
(ก) มุม HOH (ใน H_2O) มีขนาดเล็กกว่ามุมHNH (ใน NH_3 ) เพราะว่า O มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากกว่า N 
(ข) มุม HNH (ใน NH_3 ) มีขนาดใหญ่กว่ามุม HSH (ใน H_2S) เพราะ S มีอิเล็กตรอนโดดเดี่ยวมากกว่า N
(ค) มุม HOH (ใน H_2O) มีขนาดใหญ่กว่ามุมHSH (ใน H_2S ) เพราะว่า O มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากกว่า S
(ง) มุม HOH (ใน H_2O ) และมุม OCO (ใน CO_2) ต่างก็มีค่าใกล้เคียงกับ 109.5 องศา
ข้อใดถูกต้อง
(ก) และ (ค)
(ก) และ (ข)
(ค) และ (ง)
(ข) และ (ค)
40 ) 40. พิจารณาข้อสรุปจากข้อมูลเกี่ยวกับธาตุ X และ Y ต่อไปนี้
(ก) ธาตุ X มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนน้อยกว่าธาตุ Y
(ข) โมเลกุล XF_3 และ YF_3 ต่างก็ไม่เป็นไปตามกฎออกเตต
(ค) ถ้า X และ Y เป็นธาตุที่อยู่ในคาบเดียวกัน YF_3 จะมีจุดเดือดสูงกว่า XF_3
(ง) ในโมเลกุล YF_3 มุม FYF จะมีค่าน้อยกว่า 109.5^0 
ข้อใดถูกต้อง

ธาตุ
สูตรของสารประกอบฟลูออไรด์
รูปร่างโมเลกุล
X
XF_3
สามเหลี่ยมแบนราบ
Y
YF_3
พีระมิดฐานสามเหลี่ยม
(ก) เท่านั้น
(ข) และ (ค) เท่านั้น
(ก) และ (ง) เท่านั้น
(ก) (ค) และ (ง)
41 ) A ,B และ C เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง A เป็นโมเลกุลมีขั้ว B และ C เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว B ละลายได้ใน A แต่ C ไม่ละลายใน A สาร A , B และ C ในข้อใดเป็นไปได้


ข้อABC
1
C_6H_6
I_2
CS_2
2
C_2H_5OH
CHCl_3
C_6H_14
3
H_2O
Br_2
CCl_4
4
HF
F_2
C_6H_6
1
2
3
4
42 ) พิจารณาข้อความต่อไปนี้
(ก) H_2O มีจุดเดือดสูงกว่า H_2S
(ข) H_2O มีมวลน้อยกว่า H_2S
(ค) H_2O มีพันธะไฮโดรเจนยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแข็งแรง
(ง) HCl มีจุดเดือดต่ำกว่า HBr
(จ) HCl มีมวลน้อยกว่า HBr
ข้อสรุปใดต่อไปนี้ไม่เป็นเหตุผลที่ถูกต้อง
(ก) เนื่องจาก (ข)
(ง) เนื่องจาก (จ)
(ก) เพราะ (ค)
(ก) แต่ (ง) ทั้งๆ ที่ (ข) และ (จ)
43 ) ถ้า D E G J และ L แทนสัญลักษณ์ของธาตุที่มีเลขอะตอม 6 9 15 16 และ 17 ตามลำดับ จำนวนคู่ของอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะของสารประกอบคู่ใดถูกต้อง
D_2L_6 = 4 GL_5 = 4 JE_6 = 5
D_2L_6 = 6 GL_5 = 5 JE_6 = 6
D_2L_6 = 7 GL_5 = 5 JE_6 = 6
D_2L_6 = 8 GL_5 = 6 JE_6 = 7
44 ) ธาตุ R มีสูตรสารประกอบซัลเฟตเป็น R_2(SO_4)_3 ธาตุ Q มีเลขอะตอมต่ำกว่าธาตุ R อยู่ 1 สูตรสารประกอบออกไซด์และคลอไรด์ของธาตุ Q ข้อใดถูก
QO , QCl3
QO , QCl_2
Q_2O , QCl
Q_2O_3, QCl_3
45 ) สารประกอบสองชนิดในข้อใดที่แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมีค่ามากที่สุด
HF , CCl_4
HCl , SiH_4
CH_4 , PH_3
NH_3 , HF
46 ) ตารางแสดงพลังงานพันธะเฉลี่ยในสารไฮโดรคาร์บอน
การสลายพันธะทั้งหมดในโพรพีน (C_3H_6) 1 โมลจะต้องใช้พลังงานมากกว่าหรือน้อยกว่าการสลายพันธะในโพรเพน (C_3H_8) 1 โมลเท่าใด

ชนิดพันธะ
พลังงานพันธะ (kJ/mol)
C - H
413
 C - C
348
 C = C
614
มากกว่า 560 kJ
น้อยกว่า 560 kJ
มากกว่า 212 kJ
น้อยกว่า 212 kJ
47 ) ธาตุ A, B และ C มีเลขอะตอม 11, 19 และ 35 ตามลำดับ สูตรของสารประกอบข้อใดถูกต้อง
A_2C และ B_2C
AC_2 และ BC_2
AC และ BC
AC_3 และ BC_3
48 ) ไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งมีสูตรโมเลกุล C_6H_6 มีโครงสร้างเป็นโซ่เปิด อัตราส่วนจำนวนพันธะสาม :พันธะคู่:พันธะเดี่ยว ในข้อใดเป็นไปได้
2 : 1 : 8
1 : 2 : 8
1 : 4 : 6
1 : 1 : 9
49 ) ผสมสารละลายคู่ใดแล้วมีตะกอนเกิดขึ้น
CaCl_2  +  NH_4NO_3
BaCl_2  +  Na_2CO_3
Zn  +  HCl
Na_3PO_4  +  KCl
50 ) พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. โมเลกุล C_2H_2 มีความแข็งแรงของพันธะระหว่าง C กับ C มากกว่า C_2H_4 และมีความยาวพันธะระหว่าง C กับ C น้อยกว่า C_2H_6
ข. การละลายของ NaCl พบว่าพลังงานแลตทิชมากกว่าพลังงานไฮเดรชัน ดังนั้นการละลายนี้เป็นกระบวนการคายความร้อน
ค. สารประกอบไอออนิกที่เป็นของแข็งไม่นำไฟฟ้า แต่เมื่อหลอมเหลวสามารถนำไฟฟ้าได้
ข้อใดถูกต้อง
ก และ ข เท่านั้น
ข และ ค เท่านั้น
ก, ข และ ค
ก และ ค เท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น